Network Protocol มันคืออะไร ? EP.1


โพรโทคอลเครือข่าย คือ มาตรฐานที่กำหนดวิธีการสื่อสารข้ามเครือข่าย ซึ่งการใช้โพรโทคอลเดียวกันสามารถทำให้สื่อสารกันได้ คล้ายกับวิธีที่คนสามารถสื่อสาร และเข้าใจกันโดยใช้ภาษาเดียวกันซึ่งมีหลายตัวมาก เช่น UDP, IPv4, IPv6, DHCP, NTP, RTSP, PPPoE, DDNS, SMTP, FTP, อื่นๆอีกมากมาย ลองไปดูความหมายและการทำงานเบื้องต้นของแต่ละ Protocol กันเลย..

UDP

- UDP คือ โปรโตคอลแบบ Datagram oriented ซึ่งไม่มี overhead สำหรับการเปิดการเชื่อมต่อและรักษาการเชื่อมต่อและยกเลิกการเชื่อมต่อ UDP เหมาะสำหรับการรับส่งข้อมูลแบบ broadcast และ multicast
- UDP จะไม่สามารถรับประกันได้ว่าข้อมูลจะถูกส่งถึงปลายทางหรือไม่
- UDP มีการตรวจสอบการรับส่งข้อมูลแบบพื้นฐานเท่านั้นโดยใช้ checksums

UDP คือ อะไร? UDP ย่อมาจาก User Datagram Protocol เป็นโปรโทคอลหลักในชุดโปรโทคอลอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า Datagram ซึ่งเป็นข้อมูลขนาดเล็กกว่าส่งผ่านเครือข่ายไปยังเครื่องปลายทาง แต่ UDP จะไม่รับประกันความน่าเชื่อถือของข้อมูลและลำดับของ Datagram ในขณะที่ TCP จะรับประกันความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งหมายความว่า Datagram อาจมาถึงไม่เรียงลำดับหรือสูญหายได้

IPv4

IPv4 Address มีจํานวน 32 bits สามารถรองรับ IP Address ได้ประมาณสี่พันล้านเลขหมาย IP Address 192.168.1.1 Subnetmask 255.255.255.0 IPv4 แบ่งหมายเลข IP Address ออกเป็นกลุ่ม Class A-E

เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต คงจะเคยเห็นตัวเลขแปลกๆ เช่น 127.0.0.1 หรือ 192.168.1.1 หรือจำนวนอื่นๆ ตัวเลขเหล่านี้คืออะไรกัน ตัวเลขเหล่านี้คือหมายเลข IP ประจำเครื่องครับ โดย IP ก็ย่อมาจากคำว่า Internet Protocol หน้าที่ของเจ้าเลขพวกนี้ก็คือ เป็นหลายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่าย เป็นหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ในกรณีที่เราเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น โทรศัพท์มือถือทุกเครื่องก็จะมีเลขหมายหรือเบอร์โทรศัพท์เพื่อบอกว่าถ้าจะติดต่อเครื่องนี้ให้โทรมาที่เบอร์นี้นะ เช่นเดียวกันครับ คอมพิวเตอร์ก็มีเลขหมายหรือพูดง่ายก็คือชื่อมันนั่นเอง เพือให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ บนระบบเครือข่ายรู้จักกัน

IPv6

IPv6 Address มีจํานวน 128 bits สามารถรองรับ IP-Address ได้ประมาณสามร้อยสี่สิบล้านๆๆๆๆๆหมายเลข Subnet Prefix 64bits กําหนดโดย ISP Local Identifier 64bits กําหนดเอง FEDC:18F3:038A:CBF8:197F:BFAD:FEAD:3321 Subnet Prefix Local Identifier IPv6 จะใช้หมายเลข IP Address แบ่งออกเป็น 3 ประเภท 1.Unicast 2.Multicast 3.Anycast

การนำ IPv6 มาใช้ ควรจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากการปรับเปลี่ยนอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลจะส่งผลกระทบต่อเครือข่าย ทั่วโลกที่เชื่อมต่อกันอยู่ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนไปสู่เครือข่าย IPv6 ล้วน อาจใช้ระยะเวลาเป็นปี เพราะเหตุนี้ ทาง IETF จึงเสนอทางออก เพื่อช่วยในการทำงานร่วมกันระหว่าง IPv4 และ IPv6 ในระหว่างที่เครือข่ายบางแห่งเริ่มมีการปรับเปลี่ยน

DHCP คืออะไร?

DHCP (Dynamic Host Configuration Protocol) เป็นโปรโตคอลสำหรับการกำหนดค่าอัตโนมัติที่ใช้บนเครือข่าย IP
เซิร์ฟเวอร์ DHCP สามารถกำหนด IP address ให้กับลูกข่ายแต่ละราย และแจ้งให้ไคลเอ็นต์ทราบถึง IP ของเซิร์ฟเวอร์ DNS และ default gateway IP

ฟังก์ชั่นการเปิดใช้งานเซิร์ฟเวอร์ DHCP เพื่อให้เซิร์ฟเวอร์ DHCP ของเราเตอร์โดยอัตโนมัติกำหนดที่อยู่ IP ให้กับลูกค้าของเครือข่าย ถ้าฟังก์ชั่นนี้ถูกปิดใช้งานคุณจะต้องกำหนดที่อยู่ IP สำหรับอุปกรณ์ระบบ LAN ของคุณด้วยตนเอง


NTP(Network Time Protocol)

หลายคนคงคุ้นหูกับศัพท์คำว่า NTP หรือที่ย่อมาจากคำว่า Network Time Protocol เป็นโพรโทคอลสำหรับการเทียบเวลามาตรฐานและตั้งค่าเวลาบนเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆผ่านระบบเครือข่าย ส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้ในองค์กรเพื่อช่วยทำให้เวลาในเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องแม่ข่ายนั้นมีค่าตรงกัน โดยรูปแบบการทำงานนั้นแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆคืออุปกรณ์ที่ให้บริการเทียบเวลา (NTP Server) กับเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ต้องการเทียบเวลา (NTP Client)  โดยโพรโทคอล NTP นั้นเชื่อมต่อผ่านทางระบบเครือข่ายด้วยโพรโทคอล UDP ผ่านพอร์ต 123

Network Time Protocol

NTP Server ว่ามีรายละเอียดการทำงานอย่างไร รู้เพียงแค่วิธีการตั้งค่าเทียบเวลาของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่กับ NTP Server หรือเรียกอีกอย่างว่ารู้วิธีการใช้งาน NTP Client กับรู้รายการ NTP Server ที่ต้องการใช้งานเทียบเวลา ซึ่งโดยปกติข้อมูลรายการ NTP Server เป็นข้อมูลที่สามารถค้นหาผ่านระบบ Search engine ได้ไม่ยาก ในประเทศไทยมี NTP Server ที่มีความน่าเชื่อถือในระดับ Stratum 1 หลายหน่วยงานเช่น สำนักมาตรวิทยาแห่งชาติ (NTP Server ชื่อ time1.nimt.or.th) โดยเมื่อรู้ข้อมูลครบทั้ง 2 ส่วนแล้วก็สามารถเทียบและตั้งค่าเวลาในเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้งานได้ทันที

ใน News
Smart POE Switch (HS Series)
อุปกรณ์ที่กล้องไอพีต้องใช้